Saturday, November 30, 2013

ข้อคิดดีๆ จาก การแพทย์จีน กับ คนรักสุขภาพ เน้นคนยุคเน็ตมีทุกที่

สวัสดีครับ

    สำหรับคนที่อายุยังน้อย อาจจะอ่านเคล็ดวิชานี้แล้ว หัวเราะว่า การแพทย์จีนนี่ เว่อร์ไปไหม ลองอ่านเคล็ดวิชานี้ดูกันก่อนครับ


                                   เคล็ดวิชาจากวงการ การแพทย์จีน

      เพ่งดูนานๆ ทำลายเลือด

    การนอนนานๆ ทำลายพลัง

   นั่งนาน ทำลายกล้ามเนื้อ

   ยืนนาน ทำลายกระดูก

   เดินนาน ทำลายเส้นเอ็น


ที่มา: นิตยสารทางสุขภาพ&การแพทย์ฉบับหนึ่งของไทย น่าจะเกิน 10 ปี แล้วโดยประมาณ
          ผมต้องขออภัยจำชื่อนิตยสารไม่ได้ครับ ขอมอบเครดิตให้ผู้เขียนด้วยครับ ขอให้ผลบุญ
          ในวิทยาทานนี้ส่งผลไปสู่ท่านครับ 

    เมื่อลองพิจารณาดูแล้ว มันคือวิถีชีวิตของคนสมัยนี้ใช่ไหม  มี นานๆ อยู่  5 ตัวและพฤติกรรมเหล่านี้มันทำลายสุขภาพของพวกเราคนในยุคสมัยใหม่ และ ยุคอินเตอร์เน็ต อย่างแท้จริง ลองอ่านแล้วจงปรับพฤติกรรม ของท่าน แ้จ้งใ้ห้คนที่ท่านรักทราบด้วยครับ เพื่อสุขภาพที่ดี และมีความสุขครับ 

สวัสดีครับ
คุณ บอลล์
:0)
          

Monday, November 25, 2013

การหายใจ กับการเพาะกาย ที่เราอาจมองข้าม

สวัสดีครับ

    การหายใจ ในการออกกำลังแบบเพาะกายเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่า ทำิผิดแบบแผนมีสิทธิอันตรายได้อย่างนึกไม่ถึง ครับ ก็หาอ่านได้จากที่ผมเขียนไว้นานแล้ว ไม่่่ว่าจะเป็นการหายใจ การยกน้ำหนักต่างๆ ก็ตาม

    แต่สิ่งที่เรามักลืมคือ การหายใจเมื่อไม่ได้ฝึกครับ ซึ่งโดยความจริงแล้ว เราอยู่กับตรงนี้มากกว่าการฝึกอีกนะครับ หากเราฝึก 1 ชั่วโมง อีก 23 ชม. เราต้องหายใจให้ถูกนะครับ หายใจแบบใดถูกต้อง

    การแพทย์ จีนและตะวันตก รวมทั้งแบบแผนอื่นๆ กล่าวไว้ตรงกันว่า

   "หายใจเข้า ท้องป่อง หายใจออก ท้องแฟ่บ"

  เชื่อไหม หลายคนเพิ่งอ่านเจอวันนี้ ก็จงเปลี่ยนเสียนะครับ

    การหายใจถูกวิธี จะทำให้ได้ ทั้งสมาธิ และ พลังปราณ รับเต็มที่ครับ ณ. ตอนนี้ บางคน อาจจะเริ่มหายใจแบบที่่ว่า จะเห็นว่า ไม่ง่ายนะครับ กับคนที่เพิ่งเริ่ม และ ควรหายใจช้า มากกว่าเร็ว เพราะการหายใจเร็วเกินไป ก็เกิดโทษอีก เอาหายใจกลางๆ ดีที่สุด

     บางคนทั้งวัน ไม่ได้สังเกตุ ตัวเองเพราะพลังสติน้อยอยู่ ก็ได้ฉุกคิดตอนนี้และ พบว่า หายใจแค่ครึ่งเดียวมาหลายปี ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจ ที่กล้ามไม่ขึ้น หรือ ทำไมรู้สึก สีหน้า ผิวหน้าไม่แจ่มใสนะครับ หากจะให้มันตรงกันข้าม ก็เริ่มเสียแต่วันนี้

   หายใจเข้าไม่เร็ว ไม่ช้า เกินไป และหายใจออกก็เช่นกัน ลองทำกันดูึครับ

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)

Friday, November 22, 2013

ความคืบหน้ากับการทดลอง การออกกำลังกาย แบบ Suit-Workout สัปดาห์นี้ ตอนที่ 1.

สวัสดีครับ

        วันนี้ก็มาเขียนเล่าประสบการณ์ การออกกำลังกายแบบ เบาๆ ครับ พบว่า สนุก ไม่เหนื่อยมาก และยังแข็งแรงขึ้น ตอนนี้ สิ่งที่ทำอยู่ ก็

       1.แกว่งแขนแบบ ตำรับจีน เพื่อบริหารเลือดลม และ ลมปราณ ตามอย่าง ท่าน โพธิธรรม ตามที่ต้นฉบับทางจีนเขาระบุไว้ ได้  400 ครั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ โดยค่อยๆ ทำมาจาก 100 แล้วค่อยๆ ทำขึ้นมาเรื่อยๆ

       2.ยกน้ำหนัก อีก 2 ครั้ง ก็จะครบ 3 เซ็ท เซ็ทละ 12 เร็ป ตามแบบแผน คือเล่นแบบจัดเต็ม
          ในไม่เกิน 1 เดือนผมก็สามารถกลับไปเล่นกล้าม ทุกส่วนกล้ามเนื้อได้ครบแ้ล้ว

     ก็พบว่า การออกกำลังกายแบบ Suit-Workout นั้น ทำให้เราอยู่ในกระแส และทำให้เรา เข้าสู่กระแสหลักได้จริงๆ คือการออกกำลังกายแบบจัดเต็มครับผม


        มาดูกันต่อว่า สัปดาห์ต่อไปจะมีความคืบหน้าอะไรกันบ้างครับผม

สวัสดีครับ
ปล. หากไม่มีติดงานอะไร จะรายงานผลการฝึกการทุกวันศุกร์ครับ

Saturday, November 16, 2013

การประยุกต์ หลักการ Suit-Workout หรือ เบาๆ แต่ยังอยู่ในกระแส กับการ รับประทานอาหาร สำหรับคนรักสุขภาพ

 Suit-Work :0)

     "ด้วยเรือลำน้อย ฉันได้ล่องออกจากแม่น้ำ สู่ผืนทะเลใหญ่...
                            ...เพื่อโดยสารเรือเดินสมุทร และ มุ่งสู่มหาทวีป"

นี่คือปรัญชา ของ Suit-Workout ครับ

สวัสดีครับ

    ก่อนจะพาเข้าเรื่อง การประยุกต์ ดังที่โปรยหัวเรื่องไว้ ขอนำผู้่อ่าน ทบทวนเรื่อง การเพาะกาย และ การทำแอโรบิค ดังที่เคยเขียนไว้นานแล้วว่า ไอเดีย ที่เคยให้ไว้ตามหลัก การออกกำลังกาย ของ นักเพาะกาย ที่ตรงกันในนิตยสารระดับโลก หลายเล่มก็คือ ให้ เพาะกายก่อน จากนั้น พัก สักหน่อย แล้ว ค่อยออกกำลังกายด้วย แอโรบิคกันต่อไปครับ สำหรับท่านที่มีข้อสงสัย คงได้คำตอบแล้ว แต่ว่า รายละเอียดล่ะ

    สำหรับผม ผมจะเพาะกายก่อนเสมอครับ จากนั้น พักนิด ก็จะจิบชาเขียว ฝั่งว่า กาแฟ ก็แล้วแต่ แต่ผมจะพักไม่เกิน 15 นาทีครับ จากนั้นก็ออกกำลังกายโดยแอโรบิคกันต่อไป ก็เลือกเอาครับ เดิน วิ่ง หรือ อะไรอื่นๆ  เมื่อเสร็จหมดแล้ว ผมจะระวังช่วง นาทีทอง คือ 30 นาทีแรก หลังเสร็จกระบวนการการออกกำลังกาย อย่าพลาด บริโภคโปรตีน เด็ดขาดนะครับ ฝรั่งว่า ช่วงนี้ล่ะ มีส่วนตัดสินเรื่อง กล้ามไม่กล้าม ครับ

     เอ้ามาเข้าเรื่อง Suit-Workout กันต่อ ผมมีความเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ ว่า วิธีที่ผม ลองนำเสนอนี้ มีสิทธิ สร้างให้คนหันมาออกกำลังกาย กันเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ตัวผมเอง ยังมีโอกาสได้หยุดไปพักใหญ่จน ที่บ้านแซวว่า เขียนบล็อกให้เขาอ่านได้ คนดูรวม แสน ครั้ง อยู่มะรอมมะร่อ แต่ดันหยุดออกกำลังกายได้ไง  วันนั้นมา ผม สะอึกครับ เออ จริงว่ะ แบบนี้ ตรูก็เป็นได้แค่ นักเพาะกาย ใบลานเปล่าน่ะสิ

    สำนวนว่า เป็น ....ใบลานเปล่านี่ .. มีมาแต่สมัยพุทธกาลครับ เรื่องมีอยู่ว่า

   ...มีพระรูปหนึ่ง ท่านเป็นปราชญ์เลยครับ รู้แจ้งในข้อธรรมที่พระพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ อย่างลึกซึ้ง ขนาดที่ว่า พระรูปใดมีศึกษากับท่านนั้น บรรลุธรรมขั้นสูงกันเป็นทิวแถว อรหันต์ กันเลยว่างั้น แต่ท่านเอง กลับไม่ปฏิบัติครับ ลูกศิษย์ ก็เจริญในธรรม สูงกว่า ท่านไปเป็นจำนวนมาก...จน มีคนมาบอกท่านว่า เมื่อเป็นฉะนี้ท่านก็ไม่ต่างอะไร กับใบลานเปล่า ครับ... หากจำไม่ผิดน่าจะเป็น องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ล่ะครับที่ทรงตรัส.. หากผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยครับ

    เครดิต: เล่าเรื่องโดย คุณพ่อ ของกระผมเอง

      เหมือนกันครับ พอสะอึกได้ที่แล้ว ก็ได้คิด หากเราปล่อยตัวไปเรื่อยๆ ไม่แคล้ว จะอายเขา ดังนั้น ต้องออกกำลังกายตลอดชีวิตครับ เขียนสิ่งดีๆ แล้ว ก็ต้องทำด้วยครับ

      ผมเลยค่อยๆ กลับมา และได้ค้นพบแนวทาง การออกกำลังกายแบบสมตัว ขึ้นมา หรือ Suit-Workout นั่นเอง และที่ผมเชื่อมั่นในวิธีนี้ก็คือ นี่ เป็นครั้งแรก ที่จุดแล้วติด คือผมออกกำลังกายต่อเนื่องมาร่วม 1 เดือนแล้ว โดยมั่นใจตัวเองว่า ทำต่อเนื่องได้แน่ เพราะมันไม่หนักไปครับ ถือโอกาสทดสอบทฤษฎีไปในตัว โดยเอาตัวเรานี่ล่ะทดสอบ แล้วค่อยๆ มาเล่า ไปทีละสเต็ป เท่ไม่หยอก

      วันนี้ ผมก็ แกว่งแขนได้ 350 ครั้งแล้ว ยกเหวตอันนี้ ไต่มา เกือบเดือน ตอนนี้ ก็จัดว่า เกือบเข้ารูปแบบน้ำหนัก เต็มรอบ คือ 5 kg. รวม 3 เ้ซ็ท เซ็ทละ 10 ครั้ง และจะไปถึง 12 ครั้ง ถือว่าเต็มรอบ จากนั้นก็กระจายไปทุกกลุ่มกล้ามเนื้อครับ  นี่ล่ะข้อพิสูจน์ คือ เริ่มจากเบา ในที่สุด มันก็พามาเต็มรอบ จนได้ จากนั้นค่อย แปลงจากสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็น 3 ครั้ง ไปที่ โปรแกรม ฝึก 3 พัก 1 กัน ในที่สุด แล้วค่อยๆ ไต่น้ำหนัก ไปถึงจุด ที่ผมเล่นเต็มรอบเมื่อก่อน ไม่น่าเชื่อ ผมไม่ต้องสร้างแรงจูงใจอะไรเลย แค่ คิดง่ายๆ ตรูข้าต้องไม่หลุด ออกจากกระแสการเพาะกาย เพราะมันเสียดายของครับ แล้วก็ทำได้ในที่สุด

     ดังนั้น ตัวผมในฐานะที่มีพื่นฐานเพาะกายมาก่อน ก็กลับสู่โปรแกรมจัดเต็มได้ในเวลาเพียง 1 เดือนเท่านั้นครับ ถามว่า พี่ๆ หากต่อไปพี่ไม่มีเวลาล่ะ ทำไง

             ตอบ ก็จัด Suit-Workout ให้ตัวเองสิน้อง มียาดีแบบนี้ ไม่ต้องกลัวหลุดกระแสครับ

    ต่อไปก็เป็นการเดินทางของการแกว่งแขน ที่จะไต่ไปให้ถึง 2000 ครั้งให้ได้ครับ จากการคำนวณเล่นๆ ของผม น่าจะใช้เวลาราวๆ 30-40 นาทีครับ และนี่คือ แอโรบิคแน่นอน ครับ

      ความสะดวกของผมคือ ห้องของผม อยู่ตึกสูง อากาศดีมาก ก็ทำใกล้เฉลียง อาจเปิดพัดลมช่วย ไม่แนะนำแอร์ เพราะผมมองว่า มันผิดธรรมชาติครับ เพราะเปิดแอร์ ต้องปิดห้องใช่ไหม พัดลมดีกว่าครับ อย่างไรก็ตาม จะแกว่งแขน จะเพาะกาย ต้อง ทำตามหลักวิชา ลองไปหาอ่านเอาครับ ในบล็อกนี้มีค่อนข้างครอบคลุม ในการดูแลเรื่องนี้ แต่แกว่งแขน ขอให้ลองหาอ่านกันครับ

              เบาๆ ช้าๆ ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป  + ใส่ใจ คือ หลักของ  Suit-Workout จ้า

     ต่อมา เรื่องการบริโภคอาหาร โดยประยุกต์ แนวทาง Suit-Workout มาใช้ น่าจะไปทิศทางไหน
เรามองเรื่องการควบคุมอาหารกันก่อน

1. ตามแนวทางที่ทำกัน ต้องงดนั่น งดนี่ ระวังนั่น ระวังนี่

1ก. ตามแนวทาง Suit-Workout เราไม่ต้องงดนั่น นี่ ระวัง นั่นนี่ เพราะว่า
     จะเริ่มอะไรก็เครียดแล้ว ระวังแจเลย มันน่าเบื่อครับ เราใช้วิธี ถามตัวเองว่า
-เราสมัครใจทำไหม ในการควบคุมอาหาร?
ตอบ สมัครใจ หรือ ไม่สมัครใจ

**ถ้าไม่สมัครใจ อย่าเพิ่งทำครับ หยุดตรงนี้เลย เพราะไม่ควรฝืนทำอะไร
*ตอบว่า สมัครใจ ก็ไปต่อครับ

2.ต้องงดอะไรบ้าง เท่าไร ห้ามนั่นนี่
2ก. ตามแนวทาง Suit-Workout เราอยากลดอะไรล่ะ ก็ทำอันนั้นล่ะ ไม่ต้องมาก "ทีละน้อย" "ช้าๆ"
จะลดเร็วไปทำไม เดี๋ยว โยโย่ เอฟเฟ็กต์ กินกันกระจายอีกจนได้  ช้าๆ ไว้ เย็นไว้โยม สาธุ
-คุณจะทำอย่างเคร่งครัดไหม?
**ถ้าตอบว่า เคร่งครัด อย่าเพิ่งทำครับ เพราะผิดหลักการ ครับ รอจนกว่า จะเพลาๆลง
*ตอบว่า ไม่เคร่งครัด ให้รีบทำต่อไป แปลว่า คุณเข้าใจในหลักการ

 สรุปตรงนี้ข้อ 2ก. จุดนี้ คือจุดที่สำคัญ การจะทำอะไร เราต้องเข้าใจว่าทำไมจึงทำ และ ไม่ต้องเคร่งเครียด เพื่อความสำเร็จ เอาเพียงแค่ ใส่ใจ พอครับ มีคนเคยถามเราไหม คุณต้องหายใจไหม?
เราอาจบอกว่า ไอ้นี่ บ้า ไม่หายใจ ก็ Death สิครับ แต่ ทำไมเราหายใจ นั่นเพราะ จิตใจ จิตใต้สำนึกรู้ว่า
หากไม่หายใจ กรูก็อยู่ไม่ได้
    เช่นกันครับ หากเราไม่ดูแลตัวเองตอนนี้ เลย แม่แต่น้อย ก็เท่ากับ เราจะสุขภาพแย่มากๆ ในอนาคตจริงไหม ดังนั้นจงทำเพราะเห็นว่า สำคัญมาก ไม่ใ่ช่ทำเพือ ให้คนยอมรับ ดูว่าเรา หล่อ สวย หรือเพราะใครจะมาคาดหวัง ทำเพราะมันดีกับตัวเราครับ

3.ทำอย่างไร
   หลักการง่ายๆ ก็คือ ลองลด งด เลิก สิ่งที่บริโภค ไปทีละนิด ทำตามใจฉัน แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องทำตลอดชีวิต มีการตั้งด่านมาเล่นสนุกกับมันว่า ลดถึงระดับนี้ เราจะไม่กลับไปเหมือนเดิมอีก เช่น

   ปกติ
-เช้า กาแฟเย็นแก้วใหญ่ ข้าวกับ 2 อย่าง ข้าวเยอะๆ
 
ใช้หลัก Suit-Workout จะกลายเป็น

เริ่มแรก
-เช้า เลิกซื้อกาแฟแก้วใหญ่ เปลี่ยนมาแก้วเล็ก เน้นน้ำแข็งมากกว่าน้ำกาแฟ (ซึ่งโคตรหวาน) ข้าวก็ตามปกติ บอกแม่่ค้า ข้าวครึ่งเดียว

ขั้นสอง
- เช้า หันมาชงกาแฟเอง แต่เป็นกาแฟใส่น้ำตาลน้อยๆ เลิกซื้อ ข้าวเหมือนข้อแรก

ขั้นสาม
-เช้า กาแฟไม่ใส่น้ำตาล ข้าวกับข้าว 1 อย่าง พร้อมผักสด ที่เราเตรียมมาเอง อีก 1 กำมือ

ขั้นสี่

-งดกาแฟ ข้าวกับ 1-2 อย่าง ข้าวไม่มาก พร้อมผักสด บวกผลไม้


   อะไรประมาณนี้ คือ ค่อยๆ ทำไป แบบท้าทายตัวเองนั่นเองครับ และจาก 1 มื้อ มันจะลามไปเป็น 2 มื้อ จนครบ 3 มื้อ แต่สำหรับคนที่ออกกำลังกาย อย่างนักเพาะกายแบบนี้ ต้องระวังครับ ต้องดูวิธีการกินของนักเพาะกายที่ถูกต้องด้วย คือ กระจาย ประมาณ 5-6 มื่อ และครบ 5 หมู่ด้วย ไม่ว่าคุณจะกินแบบใด ที่สำคัญน้ำอย่าให้ขาดนะครับ

   พบกันใหม่กับแนวทาง Suit-Workout

สวัสดีครับ
คุณบอลล์  :0)
ปล. นี่เป็นหลักการที่ผมเชื่อว่า ผมจะทำได้จริงๆ ครับ มั่นใจมาก

Thursday, November 14, 2013

แนวคิด เลือดลมไหลเวียนดี แบบจีน ออกกำลังกายไม่ยาก และสุขภาพดี ด้วยการ แกว่งแขน

สวัสดีครับ

   เคยสังเกตุกันไหม เช้าๆ จะมีช่วงเวลาที่ เหมือน ร่างกายเรา สดใส อยู่ราวๆ 2-3 ชั่วโมง และพอผ่านไป อาการตามปกติ ที่เรารู้สึกทั้งวันก็จะกลับมา และ พอบ่ายคล้อย เข้าสู่เวลาเย็น พวกเราไม่น่าจะสดใสเท่าตอนเช้า อย่างที่ว่า


     แต่


    วันที่เราออกกำลังกาย บางคนวันนั้นเลย หรือ บางคนอีกสักพัก หลังออกกำลังกายมาหลายครั้ง จะมีอาการว่า ต่อให้ตกเย็น ก็ไม่เปลี้ย ไม่เพลียมาก  แปลกไหมครับ?


    อย่างวันนี้ ผมออกกำลังกายใช้ได้เลย ตามปกติ มันต้อง หิวแล้ว ราวๆ ใกล้ 5 โมงเย็นแบบนี้แต่ผมยังเฉยๆ ทำไม? จริงๆ แล้ว ตามความคิดของพวกเรา มันต้องเป็นแบบนี้ใช่ไหม

    ออกกำลังกาย-->ผลาญแคลอรี่มาก-->ย่อมต้องหิวมาก-->หากกินไม่พอ-->ก็จะอ่อนเปลี้ยเพลียแรง

  แต่ มันกลับกลายเป็นว่า


   ออกกำลังกาย-->ผลาญแคลอรี่มาก-->อาการหิวมากไม่ปรากฎ-->กลับมากินน้อยลง -->แต่สดชื่นขึ้น


   สิ่งนี้มันเกิดเพราะอะไร แน่ล่ะ การแพทย์ตะวันตกมีอธิบายเรื่องเหล่านี้ครับ ลองหาอ่านกัน

   แต่ผมขอจับหลัก การแพทย์จีน ที่เคยอ่านมา มาอธิบาย ครับ

    ผมเคยอ่านพบว่า การที่ร่างกายเกิดความเจ็บป่วย นั่นเพราะ เลือดและลมปราณ ของเรา ไหลเวียนไม่สะดวก และหากมันไปอุดตันที่ไหน ก็จะเกิดโรค อาการเจ็บปวดขึ้นที่นั่น การแพทย์จีน จึงเน้นให้เลือดลมเดินดี จึงเป็นที่มาของ การมี วิชาฝังเข็ม จากที่ผมเคยอ่านมา พบว่า วิธีที่ทำให้ปราณเลิกสะดุด มีอย่างน้อย 2 วิธี คือ

      1.ฝังเข็ม
      2. ความร้อน

   ทีนี้ พวกเรากี่คนล่ะครับ ที่จะมีโอกาสไปฝังเข็มจริงๆ ซึ่งผมพบว่าน้อยมากๆ ส่วนมาก ก็จบที่ร้านขายยา
หาหมอ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดนะครับ เพราะนี่เรากำลังพูดถึงการแำพทย์ ทางเลือกกันอยู่ ด้วยความบังเิอิญหรืออะไรก็ตาม ผมเคยเขียนเกี่ยวกับ การแกว่งแขนเอาไว้ ใช่ไหม ผมก็เลยได้นำสิ่งที่รู้ มาเชื่อมกัน

    การแกว่งแขน ที่มาบางสายแจ้งว่า เป็นการบริหารของท่าน โพธิธรรม หรือ ปรมาจารย์ ตั๊กม้อ ช่วยให้เกิดการไหลเวียนของปราณ ทำให้ร่างกายแข่งแรง ผมจึงขอนับเอา การแกว่งแขนเข้าไปเป็นแบบแผนที่ 3. ครับ อันทำให้ปราณ เดินไม่สะดุด จึงเป็นดังนี้

     1.ฝังเข็ม
     2.ความร้อน
     3.การแกว่งแขน หรือ การออกกำลังกายทั้งแอโรบิค และ อะนาโรบิค

    เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า การขยับ ก็เท่ากับออกกำลังกาย นั่นเอง ตามรัฐบาลท่านว่า

   และวันนี้ผมก็แกว่งแขนจริงๆ ครับ อาจพิสูจน์ได้จริงๆ นะครับว่า เวลาราวๆ 5-10 นาที ที่ผมลองแกว่งแขนในเบื้องต้นนั้น ที 300 ครั้ง ได้ผลในระดับที่โอเคเลยครับ คำถามคือ หากเราค่อยๆ เพิ่มจำนวนครั้งของการแกว่งแขน ออกไป จนถึงราวๆ 1500-2000 ครั้ง ตามตำราที่แนะนำกัน สุขภาพเราน่าจะดีขึ้นทันตาหรือไม่ ก็ต้องทดลองกันต่อไป

     แต่ที่แน่ๆ แคลอรี่ ได้เผาผลาญกันบานเบอะแน่ครับ เรื่องเลือดลม ปราณไหลเวียนนี่ ไม่ต้องกังวล คนที่แกว่งแขนจะรู้เองว่า มันดีแค่ไหน

  ทีนี้ การแกว่งแขนนี่ เมื่อมันทำให้เลือดลมเดินดี เซลล์เม็ดเลือดล่ะ มันจะสามารถนำอากาศไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ได้ดีขึ้นใช่หรือไม่ จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า

           ออกกำัลงกาย --> ได้คุณภาพในการลำเลียงอาหาร ของเลือดลม

   เรื่องปราณ ไม่ได้พูดนะครับ เพราะยังหาตัววัดไม่ได้ แต่เรื่องเลือดน่าจะเป็นตามนั้น

 มันจึงทำให้ แทนที่จะโหย จะอยาก กลายเป็น อิ่มเร็ว คือ กินเท่าเดิม แต่อิ่มเหมือนกินมาก ขณะที่
แคลอรี่เผาผลาญ กว่าเดิม มันก็ต้อง น้ำหนักลด จริงไหมครับ

อืม..ฝากไว้ให้อ่านกันครับ และขอฝากว่า การแกว่งแขน น่ะ ดีจริงๆ ครับ ตอนนี้ผมตั้งเวลาในการประเมินตนเองไว้ ราวๆ ปลายเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ครับ คือ 3 เดือนกว่า ๆ มาดูกันว่าผลจะเป็นอย่างไร โดยการ ออกกำลังกายแบบ Suit-Workout ที่ผมเขียนไว้คราวก่อน คือ ทำแบบสมตัว ไม่มาก ไม่แรง ไม่เยอะ แต่อาศัยการอยู่ในกระแส ทำน้อย แต่ทำทุกสัปดาห์ ครับ ดังนี้

      1.แกว่งแขน เป้า 1,500-2,000 ครั้ง ทำไปเรื่อยๆ ช้าๆ เพิ่มขึ้นทีละช้าๆ ครับ เช่น  200 - 300 -350 -400 ไปเรื่อยๆ ใช้เวลาเป็นเดือนๆ ไปเลย จนถึง 1,500-2,000 ครั้ง นะครับ ไม่ใช่เอากันทีแรก 2,000 ครั้ง กันเลย อย่านะครับ อย่าทำ นี่คือคำเตือน
 
    2.การเล่นกล้าม น่ำหนักน้อย จำนวนครั้งน้อย  แต่เล่นประจำทุกสัปดาห์

  หมายเหตุ: คุณก็สามารถออกแบบ Suit-Workout ของคุณได้ โดยเล่นกีฬาที่คุณชอบ แต่เน้น เล่นน้อยๆ เล่นเรื่อยๆ อยู่ในกระแส ไม่เลิก ทำต่อเนื่องครับผม

สวัสดีครับ
คุณ บอลล์ :0)

Thursday, November 7, 2013

การออกกำลังกายแนวคิดใหม่ "การออกกำลังกายแบบสมตัว" หรือ Suit-Workout โดย คุณบอลล์ ~ ความแตกต่างที่ละม้ายคล้ายคลึง อย่างไร?

สวัสดีครับ

    วันนี้ผมก็ได้ลงมือฝึก เล่นกล้ามแบบเบาๆ ด้วยตัวเอง มาได้วันที่ 3 แล้วและพบว่า มันดีกว่าไม่ทำจริงๆ ครับ เนื่องจากตัวผมต้องทำงานด้าน คอมพิวเตอร์ซึ่งมีเรื่องต้องทำมาก กลับมาก็ทำงานส่วนตัวผ่านคอมฯอีก ทำให้สุขภาพสายตา ไม่ค่อยดี และมึนหัวบ่อยๆ ทำให้ต้องใช้เวลาฟื้นใ้หสดชื่น ทีหนึ่งก็หลายวัน ทีนี้ อายุเราก็มากขึ้น มันไม่ใช่ฟื้นเร็วเหมือนสมัยหนุ่มๆ นะครับ

     เมื่อฟื้นตัวกันหลายวัน ก็มีเหตุให้ต้องหยุดเพาะกายสไตล์เต็มสูบกันไป แต่พอเริ่มมาทำแบบ เบาๆ ที่เขียนให้ผู้อ่านได้อ่านกัน ปรากฎว่า อาการต่างๆ หายหมด ฟื้นตัวเร็ว สดชื่นและแข็งแรงขึ้นมากๆ จะเรียกว่ากะปรี้กะเปร่า เหมือนตอนเล่นกล้ามแบบเต็มสูบกันเลย ที่สำคัญปวดกล้ามเนื้อน้อยกว่ากัน หลายเท่า

   แม้ว่าจะหวังเรื่อง กล้ามขึ้นเร็วไม่ได้ แต่ได้กำลังวังชาครับ ผมถือว่า นี่เป็นจุดลงตัว ของการออกกำลังกายแบบ อะนาโรบิค กับ แอโรบิค ครับ หากจะเรียกวิธีนี้ เป็นภาษาอังกฤษ สไตล์ ที่ผมสร้างขึ้นมานี้ว่า


               "Suitable for Yourself Workout" ก็น่าจะได้ หรือ เปลี่ยนชื่อเรียกจาก เล่นกล้ามแบบ เบาๆ มาเป็น

       "วิธีการออกกำลังกายแบบ(เหมาะ)สมตัว" นั่นเองครับ

โดยขอตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า    Suitable for Yourself Workout เรียกย่อๆ ว่า

"Suit -Workout"

โดยเรียกแบบไทยว่า วิธีการออกกำลังกายแบบ(เหมาะ)สมตัว ย่อเป็น

  "การออกกำลังกายแบบสมตัว"


(ตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 8 พฤษจิกายน พ.ศ.2556 เวลาเที่ยงวัน โดย คุณบอลล์)

 โดยมีแนวคิดมาจาก

      1.เราไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายเพื่อตอบสนองต่อมาตรฐานใดๆ แต่ทำเพื่อตัวเอง ทำแล้วมีความ
        สุข
   
     2.เมื่อไม่ต้องตอบสนองมาตรฐานใด ทั้ง แอโรบิคและ อะนาโรบิค เราจึงออกกำลังกายได้แบบไม่มี
         ความกดดัน ว่าทำผิด ทำไม่ถึง

     3.ทำให้เราทำเท่าที่ทำได้ ออกกำลังกายได้เท่าที่ทำได้ และไม่หลุดออกไปจากกระแสการออกกำลัง
        เพราะเราทำเท่าที่ทำได้

     4.เมื่อถึงวันเวลาที่เหมาะสมกับเรา เราอาจเลื่อนระดับความเข้มข้นการออกกำลังกายให้มากขึ้น ตาม
       ความแข็งแรง ที่เราได้สั่งสม ทั้งนี้เพื่อความสุข และ ความมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ  เป็นสำคัญ

     5.เราเป็นผู้เลือกในท้ายที่สุด ว่าเราจะออกกำลังกายมากเพียงใด แค่ไหน ตามใจของเรา โดยมี
       วิทยาศาสตร์การแพทย์ และ การกีฬา เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษา


    จากแนวคิด 5 ข้อ จะทำให้ คนที่ ไม่มีเวลา ไม่ชอบกฎเกณฑ์ ไม่ชอบให้ใครคาดหวัง และอีกหลายๆ ไม่ชอบมีแนวคิด ที่ดีต่อการออกกำลังกายมากขึ้น เพิ่มจำนวนคนเข้ามาออกกำลังกายมากขึ้น

    ท่านเชื่อไหม? หากยังไม่เชื่อ ลองตามผมมา

   -คุณเชื่อไหมมีคนที่ชอบทำอะไรสบายๆ ไม่ชอบกฎเกณฑ์ ที่ไม่ออกกำลังกายเพราะระเบียบ วิธี เยอะมาก ยิ่งการเล่นกล้ามนี่ หายใจ การยก น้ำหนัก ตารางฝึก และอื่นๆ มันเยอะเกินสำหรับเขา

  -บางคนไม่ชอบแต่งตัว ไปออกกำลังกาย

 -บางคนไม่ชอบให้ใครมาพูดว่า ผอมยังๆ เห็นออกกำลังกายนานแล้ว กินมากไปไหม เลยไม่ออกมันเลย

 -บางคนคิดว่ามันเป็นภาระ

และมีอีกหลายความคิด แต่....

  "การออกกำลังกายแบบสมตัว" ที่ผมสร้างขึ้นมานี้ ไม่ใช่แค่ เล่นกล้ามนะครับ แน่ล่ะที่ผมทำตอนนี้คือ
การเล่นกล้าม แบบ เบาๆ แต่ผมจะลองนำตัวเองเข้าไปทดลองเองเลยครับ โดยผมคิดว่า มันควรออกมาเป็นแบบ อาหารแนวฟิวชั่น คือ มีการนำอาหารจากต่างถิ่นมาผสม สร้างแนวอาหารใหม่ครับ

     ของผมก็เลยคิดว่า เราน่าจะเดิม อะไรเข้าไปสักหน่อย เพราะเมื่อผมออกกำลังกายโดยการเล่นกล้ามแบบเบาๆ นั้น สุขภาพของผมดีขึ้นมากๆ และทำมาไม่กี่วัน (ผมเป็นคนมีพื้นฐานเล่นกล้ามหนักมาก่อน)
กล้ามเนื้อมันตอบรับเร็วมากๆ และดูกระฉับกระเฉงมากๆ ผมเลยคิดว่า ร่างกายที่ป้อแป้ กลับมาแล้วการออกแบบเบาๆ ที่ดีนี้ น่าจะดีมากขึ้น หากเราเพิ่ม เรื่องของ แอโรบิคเข้ามา ผมก็คิดว่า อะไรดี คิดอยู่นานก็หัวเราะดังลั่น ก็เคยเขียนไว้ในทุกท่านได้อ่านมาพักหนึ่งแล้ว   การแกว่งแขนนั่นเอง

     ผมเลยนำการแกว่งแขน มาร่วมด้วย โดยทำดังนี้

   1.การเล่นกล้ามแบบเบาๆ นั้น เน้นว่า เล่นสัปดาห์ละไม่เกิน 2 ครั้ง เน้นคงกล้ามเนื้อ ไม่ใช่สร้างกล้ามเนื้อใหญ่ๆ เน้นการบ่มเพาะทักษะ ไม่ใช่เล่นเพื่อหวังเป็นชายงาม เล่นเพื่อยังคงอยู่ในกระแส ไม่ใช่เพื่อเป็นกระแส เป็นต้น อย่างไรก็ตาม นี่ละ อะนาโรบิค  ลองตามอ่านบทความก่อนๆ นะครับ ผมเขียนไว้แน่นๆ 2 บทความ

  2.การแกว่งแขน ใช้เนื้อที่ เพียง 1 ตารางเมตร ยังได้เลยสำหรับคนตัวเล็กๆ ทำในห้องได้ แต่เปิดให้ลมพัดสะดวก ลองหาวิธีทำตามเว็บที่เขาอธิบายละเอียดครับ ไม่ต้องอะไรมาก ยืนแล้วแกว่งแขน ใครๆ ก็ทำได้ คนพิเศษ ขออภัย จากท่านั่งก็ประยุกต์ทำได้ครับ แต่จะทำทั้งที่ ต้องมี ขำๆ มีด่านให้ผ่านกันหน่อย

     ผมลองออกแบบดังนี้

       2 สัปดาห์แรก   แกว่งแขนตามวิธีที่ถูกต้อง ไม่เกิน 100 ครั้งในวันแรก จากนั้นค่อยๆ เพิ่ม ทีละ 50 ครั้งจนได้สามารถทำได้ 300 ที ต่อการแกว่งแขน 1 ครั้ง เป็นคุณที่ต้องออกแบบ ทั้งจำนวนวัน และครั้ง จนทำได้ 300 ทีในช่วงสุดท้ายของสัปดาห์ที่ 2

      ประมาณ 1 เดือน ควรจะไต่ขึ้น จาก 300 ไปเป็น 500 ครั้งให้ได้ ในสัปดาห์สุดท้าย

      อีก 1 เดือน ไต่จาก 500 ไปเป็น 750 ครั้ง

      อีก 1 เดือน จาก 750 ครั้ง ไปเป็น 1000 ครั้ง

      จากนั้นให้ไต่เพิ่ม เดือนละ 250 ครั้ง ไปจนครบ 2,000 ครั้ง

มันต้องมีด่านให้ผ่านครับ มันจะสนุก และพบว่า สิ่งที่ผมแนะนำ มันทำได้ เว้นช่วงให้สร้างกล้ามเนื้อ รองรับการพัฒนาระบบภายใน ของร่างกายได้จริงๆ ไม่ใช่มาแนะนำว่า
 
   ...มา มา แกว่งแขนให้ได้ 2,000 หายโรคร้าย ผมว่าเรามาค่อยๆ ไต่ดีกว่าครับ ของแบบนี้ทำได้แล้วมัน
ได้เลย นะครับ จะรีบทำไม  อย่าเร่ง เพราะหากรีบเร่ง ก็ไม่ใช่ การออกกำลังกายแบบสมตัว จริงไหม?

   สำหรับผมจะออกกำลังกายโดยนำการเพาะกายแบบ เบาๆ และ การแกว่งแขน มาออกกำลังกายร่วมกัน โดยมีวิธีการออกกำลังกายดังนี้

      1.เล่นกล้ามแบบเบาๆ สัปดาห์ละ 2 วัน (ติดตามอ่านได้จาก บทความ 2 บทความที่ผมอธิบายลงลึก)
      2.ช่วงวันที่เว้น ไม่เล่นกล้าม ผมก็จะแกว่งแขวน โดยมีเป้าหมายเป็น ด่าน ที่อธิบายไว้ก่อนหน้า
      3.ต้องมีวันพัก  2 วัน คือไม่ทั้งเล่นกล้าม และไม่ทั้งแกว่่งแขน นี่คือทางสายกลางครับ

   เท่านี้ครับ แต่ขอเตือนว่า ต้อง ยืดเส้น วอร์มร่างกาย ทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายเสมอ ตลอดจน ต้องทำทุกอย่าง อย่าง ทางสายกลางครับผม


   พบกับแนวคิด ที่ละเอียดมากขึ้น ของ Suit-Workout กันในบทความต่อไป สวัสดีครับ

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)



Sunday, November 3, 2013

เล่นกล้ามแบบ เบาๆ แนวทางการเล่น เริ่มอย่างไรดี (ควรอ่านบทความที่แล้วก่อนนะครับ)

สวัสดีครับ

    สำหรับคนที่อ่านบทความที่ผ่านมาบทความก่อนหน้านี้ คงจะเห็นแนวทางการเล่นกล้ามแบบ เบาๆ แล้วนะครับว่า การเล่นกล้ามแบบเบาๆ นั้น

    -ทำให้เราคงกระแส ในการเล่นกล้ามไว้ได้
    -ลดข้ออ้างเรื่องไม่มีเวลา จริงๆ แล้ว อ้างไม่ได้เลย
    -ความเหนื่อยอ่อน แทบไม่มี แต่กลับได้กล้ามเนื้อชุดใหม่
      แม้ต้องใช้เวลายาวนานกว่าก็ตาม


    จาก 3 ข้อย่อๆ จะพบว่า ทำแล้วดี กว่าไม่ทำ การเล่นกล้ามแบบ เบาๆ จึงมองข้ามไปไม่ได้
แนวคิดของผม มาจาก ปรัชญาความคิดส่วนตัว ที่ตกผลึกมาจาก การมีชีวิตมากว่า 41 ปีว่า

     "คนเรานั้น ไม่ต้องรอให้เป็นอะไรบางอย่างเสียก่อน จึงจะเริ่มทำอะไรบางอย่าง"
     "We, no need to be something for doing something."

                                                                                                   โดย คุณบอลล์
                                                                                                    บล็อก เพาะกายสไตล์แมนๆ ฯ

หมายเหตุ: ผมหมายถึงการใช้ปรัชญาข้อข้างต้น กับเรื่อง ดีๆ เท่านั้นนะครับ ไม่ทำให้เรา คนอื่น และ สังคมเดือดร้อน อีกด้วย ใครเอาไปใช้ เลวทราม คือ สันดานของคุณเองนะครับ บอกไว้ก่อน


    ซึ่งปรัชญาดังกล่าว พบว่า เราตั้งแต่เกิดจนโตนั้น ถูกนำให้คิดจนเป็นนิสัยว่า หากจะทำอะไร เราต้องไปให้ถึงสถานภาพบางอย่างเสียก่อน แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด แต่มีอยู่หลายส่วน ที่สอนกันแบบนี้ จึงทำให้คนเราที่มีชีวิต มีปัญหารอบด้าน แก้ไม่หมด เลยไม่มีเวลามาขบประเด็นนี้

    ผมมีชีวิตผ่านมา 41 ปีแล้ว ผ่านอะไรมามาก และตัวเองก็ใช่ว่าจะสำเร็จอะไรนัก แต่ครองตัวค่อนข้างอยู่ในเกณฑเฉลี่ย ทำให้ผมพบว่า ตัวเรานั้นก็เป็นคนดี คนหนึ่งในสังคม ไม่โดดเด่น แต่ไม่ได้พาสังคมไปหาสิ่งที่ผิด ก็พอจะมีบทความแบบนี้ มาแบ่งปันกันอ่านครับ

     ประเด็นต่อข้อปรัชญาข้างต้นก็คือ การเล่นกล้าม จึง...

     ไม่ต้องมีเวลามาก ไม่ต้องพร้อมไปเสียทุกเรื่อง ไม่ต้องตามแนวทางปฏิบัติเป๊ะ
เราก็

     สามารถเล่นกล้ามได้

มันเป็นแบบนี้

    การเล่นกล้ามแบบ เบาๆ จึงสามารถกระทำได้ครับ

   แนวทางการเล่น ที่ผมลองทดลองด้วยตัวเอง ก็คือ

  1.เล่นกล้ามเนื้อ ทีละ กลุ่ม
  2. เล่นให้ครบครอบคลุมทั้งตัว
  3.เริ่มจากจำนวนน้อย ไป หามาก
  4.ไม่ได้ทำหวังผล แต่ทำ หวังความยั่งยืน
  5.เชื่อ และ ศรัทธาว่า ทำ ดีกว่าไม่ทำ


     รายละเอียด

ข้อ 1. เล่นกล้ามเนื้อ ทีละกลุ่ม


     ผมเล่นโดยเริ่มจาก กล้ามเนื้อ ไบเซ็ป เป็นกลุ่มแรก น้ำหนัก เพียง 3 กิโลกรัม ดัมเบลล์ ของผมสามารถปรับน้ำหนัก ได้ถึง 11 กิโลกรัม แต่ผม เริ่มจากน้ัอยๆ โดยวันแรกเล่นดังนี้

      1.เล่นซ้าย และ ขวา ข้างละ 3 เซ็ท โดย เล่นเซ็ท ละ เพียง 6 ครั้ง
         หมายเหตุ: ต้องยืดเส้นก่อนนะครับ วอร์มด้วย ก่อนเล่น โดย ยกสัก 1-2 ครั้ง ช้าๆ
      2.ตอนยก ต้องหายใจ ถูกต้อง และ ยกช้า เอาแบบเนียนๆ
      3.พักระหว่างเซ็ท นับ 1-10 ครับ นับตามวินาทีเลย
      4.เล่นเสร็จ ให้ยืดเส้น คูลดาวน์ ตามปกติ
   
     จากนั้นก็ไปใช้ชีวิตตามปกติ ครับ ข้อสังเกตุ:
   -ถ้่าคุณจะมีการออกกำลังกายแนวแอโรบิค เพิ่ม ให้เว้นระยะสัก 15 นาที หรือ หายเหนื่อย จากการเล่นกล้ามมแบบเบาๆ ก่อน จากนั้น ดื่มชาเขียว หรือ น้ำ ให้สดชื่น  แล้วค่อยทำพวกแอโรบิค เช่น เดิน วิ่ง หรหรือ ปั่นจักรยาน เป็นต้น ทำต่อไป อย่าให้เกิน 30-35 นาที พอแล้วครับ

   - ถ้าเล่นกล้ามแบบเบาๆ แล้ว หยุดเลย ก็ ใน 30 นาที เป็นช่วงนาทีทอง ให้ดื่ม นม หรือ ทานอาหารพวกโปรตีน จาก พืช หรือ สัตว์ ได้ทั้งนั้น

   จะพบว่า ขั้นตอนแทบไม่ต่างจากการเล่นกล้าม แบบเต็มๆ เลยนะครับ

 ประเด็นสำคัญคือ ให้เล่นกล้ามเวียนไปเรื่อย จากไบเซ็ป ไปหลังแขน ไหล่ หลัง ลำตัวหน้า-ข้าง ขา-สะโพก เป็นต้น เล่นให้ครบ แต่ว่า กลุ่มแรกๆ ที่เล่น ให้เล่น ยาวไปก่อน เพื่อเตรียมร่างกาย ตามธรรมชาติ
นั่นคือ การเล่น ไบเซ็ป คือ การยกดัมเบลล์ ตามปกติน่ะครับ ทำไปเลย สัก 2 สัปดาห์ ครับ โดยมีแนวทางดังนี้

      1.ยกท่าไบเซ็ปต์ ต่างๆ 1-2 ท่า สัก 2 สัปดาห์
      2.ท่าไตรเซ็ปต์  1 สัปดาห์
      3.ไหล่  1 สัปดาห์
      4.หลัง  1 สัปดาห์
      5.ลำตัวด้่านหน้า  1 สัปดาห์
      6.ลำตัวด้านข้าง  1 สัปดาห์
      7.ขา   1 สัปดาห์

  ทำไม ข้อ 1. จึง 2 สัปดาห์ นั่นเพราะ เป็นท่าตามธรรมชาติของคนเราครับ ที่ต้องมี การยก ยึด ผลักดัน ที่เกี่ยวกับ ไบเซ็ปต์เป็นส่วนมาก ถือว่า สอดคล้องตามธรรมชาติ แต่เป็นการเตือนให้เขารู้ว่า เราจะเริ่มใช้กล้ามเนื้อมากแล้วนะ ทีนี้ ลองบอกผมสิครับ ว่า ไม่ว่าจะใช้กล้ามเนื้อส่วนไหน ก็ตามจะมีกล้ามเนื้อส่วนหนึ่ง เข้ามาแจมเสมอ ส่วนนั้นคือ ส่วนไหนครับ คำตอบ

      ส่วน กล้ามท้องและหลัง ครับ การทำไบเซ็ปต์ ง่ายๆ และยังเป็นการเทรนด์ ท้องกับหลัง ให้แข็งแรงตามเรามาด้วยนั่นเอง เพื่อพร้อมรับ การฝึกในทุกส่วนในภายหลัง มันเป็นแบบนี้


       ในทุกส่วน ให้ออกกำลัง โดยใช้สูตร
- 3 เซ็ท เซ็ทละ 6 ครั้ง ในสัปดาห์แรก และจากนั้น ให้เป็น เซ็ทละ 10 ครั้ง จนครั้งที่ 3 ให้เป็น 12 ครั้ง พอแล้วครับ จำไว้ว่า ช้าๆ หายใจให้ถูกต้อง คือ ออกแรงหายใจออก ผ่อนแรงหายใจเข้า ครับผม

- ข้อยกเว้นสำหรับ กล้ามส่วนขา ก็จัดไปตามที่คิดว่าเหมาะสมครับ เพราะเป็นกล้ามที่ชุดใหญ่ใช้      พลังงานมาก ก็ปรับจำนวนในเซ็ท ตามความเหมาะสมครับ สอบถามมาได้ถ้าสงสัยครับ

- ให้ทำสัปดาห์ ละ 2 วันเท่านั้น อ่านในบทความก่อนครับ ไม่งั้นก็ไม่ใช่ เล่นกล้ามแบบ เบาๆ ใช่ไหม

- พออยู่ตัวแล้ว ให้ทำหมุนเวียนไปเรื่อยครับ

  อ้อ เกือบลืมเรื่องสำคัญ สำหรับน้ำหนัก นั้น พอเล่นไป สัก ทุก 2-3 เดือน เห็นว่า เริ่มยกแล้วมันเบาๆ ก็เพิ่มได้ครับ แต่ทีละน้อยๆ เช่น 3 กิโลกรัม เป็น 5 กิโลกรัม หรือน้อยกว่านั้น แต่อยากให้รอว่า ทุก 3 เดือนน่าจะดีกว่า เพื่อให้กล้ามเนื้อปรับตัวทันครับ การเล่นแบบนี้ผมคิดว่า สัก 8 กิโลกรัมหรือใกล้เคียง แล้วอั้นไว้ ก็น่าจะพอแล้ว 10 กิโลกรัมนี่ หากจะเล่น ผมแนะนำว่า เข้าโปรแกรมฝึกแบบเต็มๆ เลยดีกว่า เช่นโปรแกรม ฝึก แบบ 3 พัก 1 ครับ คือน้ำหนักขนาดนี้แล้ว สร้างกล้ามสบายๆ เลย จัดเต็มดีกว่าครับ :0)

    การคลายเส้น, การหายใจ, การกินอาหาร และ การฝึกแบบ 3 พัก 1 ผมเขียนไว้หมดแล้วลองย้อนอ่านกันนะครับ ครบถ้วนสมบูรณ์ครับผม
     พอดีเคยทำ รวมดัชนีท่าฝึกไว้ แต่ยังไม่ได้ทำจนเสร็จ มีตัวอย่าง สำหรับการฝึกไบเซ็ปต์นะครับ ตามลิงค์ไปชมกันเลย ของผมเอง :0)    หลักการฝึกกล้ามแขนส่วนหน้า
ท่าฝึกเดียวกัน แต่หลักการฝึกเอาของในบทความนี้นะครับ :0)

ทั้งหมดคือแนวทางที่ผมใช้ฝึกครับ จะทดลองสัก 3 เดือนแล้วจะรายงานผลให้อ่านกันครับ

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)