Thursday, November 14, 2013

แนวคิด เลือดลมไหลเวียนดี แบบจีน ออกกำลังกายไม่ยาก และสุขภาพดี ด้วยการ แกว่งแขน

สวัสดีครับ

   เคยสังเกตุกันไหม เช้าๆ จะมีช่วงเวลาที่ เหมือน ร่างกายเรา สดใส อยู่ราวๆ 2-3 ชั่วโมง และพอผ่านไป อาการตามปกติ ที่เรารู้สึกทั้งวันก็จะกลับมา และ พอบ่ายคล้อย เข้าสู่เวลาเย็น พวกเราไม่น่าจะสดใสเท่าตอนเช้า อย่างที่ว่า


     แต่


    วันที่เราออกกำลังกาย บางคนวันนั้นเลย หรือ บางคนอีกสักพัก หลังออกกำลังกายมาหลายครั้ง จะมีอาการว่า ต่อให้ตกเย็น ก็ไม่เปลี้ย ไม่เพลียมาก  แปลกไหมครับ?


    อย่างวันนี้ ผมออกกำลังกายใช้ได้เลย ตามปกติ มันต้อง หิวแล้ว ราวๆ ใกล้ 5 โมงเย็นแบบนี้แต่ผมยังเฉยๆ ทำไม? จริงๆ แล้ว ตามความคิดของพวกเรา มันต้องเป็นแบบนี้ใช่ไหม

    ออกกำลังกาย-->ผลาญแคลอรี่มาก-->ย่อมต้องหิวมาก-->หากกินไม่พอ-->ก็จะอ่อนเปลี้ยเพลียแรง

  แต่ มันกลับกลายเป็นว่า


   ออกกำลังกาย-->ผลาญแคลอรี่มาก-->อาการหิวมากไม่ปรากฎ-->กลับมากินน้อยลง -->แต่สดชื่นขึ้น


   สิ่งนี้มันเกิดเพราะอะไร แน่ล่ะ การแพทย์ตะวันตกมีอธิบายเรื่องเหล่านี้ครับ ลองหาอ่านกัน

   แต่ผมขอจับหลัก การแพทย์จีน ที่เคยอ่านมา มาอธิบาย ครับ

    ผมเคยอ่านพบว่า การที่ร่างกายเกิดความเจ็บป่วย นั่นเพราะ เลือดและลมปราณ ของเรา ไหลเวียนไม่สะดวก และหากมันไปอุดตันที่ไหน ก็จะเกิดโรค อาการเจ็บปวดขึ้นที่นั่น การแพทย์จีน จึงเน้นให้เลือดลมเดินดี จึงเป็นที่มาของ การมี วิชาฝังเข็ม จากที่ผมเคยอ่านมา พบว่า วิธีที่ทำให้ปราณเลิกสะดุด มีอย่างน้อย 2 วิธี คือ

      1.ฝังเข็ม
      2. ความร้อน

   ทีนี้ พวกเรากี่คนล่ะครับ ที่จะมีโอกาสไปฝังเข็มจริงๆ ซึ่งผมพบว่าน้อยมากๆ ส่วนมาก ก็จบที่ร้านขายยา
หาหมอ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดนะครับ เพราะนี่เรากำลังพูดถึงการแำพทย์ ทางเลือกกันอยู่ ด้วยความบังเิอิญหรืออะไรก็ตาม ผมเคยเขียนเกี่ยวกับ การแกว่งแขนเอาไว้ ใช่ไหม ผมก็เลยได้นำสิ่งที่รู้ มาเชื่อมกัน

    การแกว่งแขน ที่มาบางสายแจ้งว่า เป็นการบริหารของท่าน โพธิธรรม หรือ ปรมาจารย์ ตั๊กม้อ ช่วยให้เกิดการไหลเวียนของปราณ ทำให้ร่างกายแข่งแรง ผมจึงขอนับเอา การแกว่งแขนเข้าไปเป็นแบบแผนที่ 3. ครับ อันทำให้ปราณ เดินไม่สะดุด จึงเป็นดังนี้

     1.ฝังเข็ม
     2.ความร้อน
     3.การแกว่งแขน หรือ การออกกำลังกายทั้งแอโรบิค และ อะนาโรบิค

    เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า การขยับ ก็เท่ากับออกกำลังกาย นั่นเอง ตามรัฐบาลท่านว่า

   และวันนี้ผมก็แกว่งแขนจริงๆ ครับ อาจพิสูจน์ได้จริงๆ นะครับว่า เวลาราวๆ 5-10 นาที ที่ผมลองแกว่งแขนในเบื้องต้นนั้น ที 300 ครั้ง ได้ผลในระดับที่โอเคเลยครับ คำถามคือ หากเราค่อยๆ เพิ่มจำนวนครั้งของการแกว่งแขน ออกไป จนถึงราวๆ 1500-2000 ครั้ง ตามตำราที่แนะนำกัน สุขภาพเราน่าจะดีขึ้นทันตาหรือไม่ ก็ต้องทดลองกันต่อไป

     แต่ที่แน่ๆ แคลอรี่ ได้เผาผลาญกันบานเบอะแน่ครับ เรื่องเลือดลม ปราณไหลเวียนนี่ ไม่ต้องกังวล คนที่แกว่งแขนจะรู้เองว่า มันดีแค่ไหน

  ทีนี้ การแกว่งแขนนี่ เมื่อมันทำให้เลือดลมเดินดี เซลล์เม็ดเลือดล่ะ มันจะสามารถนำอากาศไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ได้ดีขึ้นใช่หรือไม่ จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า

           ออกกำัลงกาย --> ได้คุณภาพในการลำเลียงอาหาร ของเลือดลม

   เรื่องปราณ ไม่ได้พูดนะครับ เพราะยังหาตัววัดไม่ได้ แต่เรื่องเลือดน่าจะเป็นตามนั้น

 มันจึงทำให้ แทนที่จะโหย จะอยาก กลายเป็น อิ่มเร็ว คือ กินเท่าเดิม แต่อิ่มเหมือนกินมาก ขณะที่
แคลอรี่เผาผลาญ กว่าเดิม มันก็ต้อง น้ำหนักลด จริงไหมครับ

อืม..ฝากไว้ให้อ่านกันครับ และขอฝากว่า การแกว่งแขน น่ะ ดีจริงๆ ครับ ตอนนี้ผมตั้งเวลาในการประเมินตนเองไว้ ราวๆ ปลายเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ครับ คือ 3 เดือนกว่า ๆ มาดูกันว่าผลจะเป็นอย่างไร โดยการ ออกกำลังกายแบบ Suit-Workout ที่ผมเขียนไว้คราวก่อน คือ ทำแบบสมตัว ไม่มาก ไม่แรง ไม่เยอะ แต่อาศัยการอยู่ในกระแส ทำน้อย แต่ทำทุกสัปดาห์ ครับ ดังนี้

      1.แกว่งแขน เป้า 1,500-2,000 ครั้ง ทำไปเรื่อยๆ ช้าๆ เพิ่มขึ้นทีละช้าๆ ครับ เช่น  200 - 300 -350 -400 ไปเรื่อยๆ ใช้เวลาเป็นเดือนๆ ไปเลย จนถึง 1,500-2,000 ครั้ง นะครับ ไม่ใช่เอากันทีแรก 2,000 ครั้ง กันเลย อย่านะครับ อย่าทำ นี่คือคำเตือน
 
    2.การเล่นกล้าม น่ำหนักน้อย จำนวนครั้งน้อย  แต่เล่นประจำทุกสัปดาห์

  หมายเหตุ: คุณก็สามารถออกแบบ Suit-Workout ของคุณได้ โดยเล่นกีฬาที่คุณชอบ แต่เน้น เล่นน้อยๆ เล่นเรื่อยๆ อยู่ในกระแส ไม่เลิก ทำต่อเนื่องครับผม

สวัสดีครับ
คุณ บอลล์ :0)

No comments:

Post a Comment