Thursday, November 7, 2013

การออกกำลังกายแนวคิดใหม่ "การออกกำลังกายแบบสมตัว" หรือ Suit-Workout โดย คุณบอลล์ ~ ความแตกต่างที่ละม้ายคล้ายคลึง อย่างไร?

สวัสดีครับ

    วันนี้ผมก็ได้ลงมือฝึก เล่นกล้ามแบบเบาๆ ด้วยตัวเอง มาได้วันที่ 3 แล้วและพบว่า มันดีกว่าไม่ทำจริงๆ ครับ เนื่องจากตัวผมต้องทำงานด้าน คอมพิวเตอร์ซึ่งมีเรื่องต้องทำมาก กลับมาก็ทำงานส่วนตัวผ่านคอมฯอีก ทำให้สุขภาพสายตา ไม่ค่อยดี และมึนหัวบ่อยๆ ทำให้ต้องใช้เวลาฟื้นใ้หสดชื่น ทีหนึ่งก็หลายวัน ทีนี้ อายุเราก็มากขึ้น มันไม่ใช่ฟื้นเร็วเหมือนสมัยหนุ่มๆ นะครับ

     เมื่อฟื้นตัวกันหลายวัน ก็มีเหตุให้ต้องหยุดเพาะกายสไตล์เต็มสูบกันไป แต่พอเริ่มมาทำแบบ เบาๆ ที่เขียนให้ผู้อ่านได้อ่านกัน ปรากฎว่า อาการต่างๆ หายหมด ฟื้นตัวเร็ว สดชื่นและแข็งแรงขึ้นมากๆ จะเรียกว่ากะปรี้กะเปร่า เหมือนตอนเล่นกล้ามแบบเต็มสูบกันเลย ที่สำคัญปวดกล้ามเนื้อน้อยกว่ากัน หลายเท่า

   แม้ว่าจะหวังเรื่อง กล้ามขึ้นเร็วไม่ได้ แต่ได้กำลังวังชาครับ ผมถือว่า นี่เป็นจุดลงตัว ของการออกกำลังกายแบบ อะนาโรบิค กับ แอโรบิค ครับ หากจะเรียกวิธีนี้ เป็นภาษาอังกฤษ สไตล์ ที่ผมสร้างขึ้นมานี้ว่า


               "Suitable for Yourself Workout" ก็น่าจะได้ หรือ เปลี่ยนชื่อเรียกจาก เล่นกล้ามแบบ เบาๆ มาเป็น

       "วิธีการออกกำลังกายแบบ(เหมาะ)สมตัว" นั่นเองครับ

โดยขอตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า    Suitable for Yourself Workout เรียกย่อๆ ว่า

"Suit -Workout"

โดยเรียกแบบไทยว่า วิธีการออกกำลังกายแบบ(เหมาะ)สมตัว ย่อเป็น

  "การออกกำลังกายแบบสมตัว"


(ตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 8 พฤษจิกายน พ.ศ.2556 เวลาเที่ยงวัน โดย คุณบอลล์)

 โดยมีแนวคิดมาจาก

      1.เราไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายเพื่อตอบสนองต่อมาตรฐานใดๆ แต่ทำเพื่อตัวเอง ทำแล้วมีความ
        สุข
   
     2.เมื่อไม่ต้องตอบสนองมาตรฐานใด ทั้ง แอโรบิคและ อะนาโรบิค เราจึงออกกำลังกายได้แบบไม่มี
         ความกดดัน ว่าทำผิด ทำไม่ถึง

     3.ทำให้เราทำเท่าที่ทำได้ ออกกำลังกายได้เท่าที่ทำได้ และไม่หลุดออกไปจากกระแสการออกกำลัง
        เพราะเราทำเท่าที่ทำได้

     4.เมื่อถึงวันเวลาที่เหมาะสมกับเรา เราอาจเลื่อนระดับความเข้มข้นการออกกำลังกายให้มากขึ้น ตาม
       ความแข็งแรง ที่เราได้สั่งสม ทั้งนี้เพื่อความสุข และ ความมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ  เป็นสำคัญ

     5.เราเป็นผู้เลือกในท้ายที่สุด ว่าเราจะออกกำลังกายมากเพียงใด แค่ไหน ตามใจของเรา โดยมี
       วิทยาศาสตร์การแพทย์ และ การกีฬา เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษา


    จากแนวคิด 5 ข้อ จะทำให้ คนที่ ไม่มีเวลา ไม่ชอบกฎเกณฑ์ ไม่ชอบให้ใครคาดหวัง และอีกหลายๆ ไม่ชอบมีแนวคิด ที่ดีต่อการออกกำลังกายมากขึ้น เพิ่มจำนวนคนเข้ามาออกกำลังกายมากขึ้น

    ท่านเชื่อไหม? หากยังไม่เชื่อ ลองตามผมมา

   -คุณเชื่อไหมมีคนที่ชอบทำอะไรสบายๆ ไม่ชอบกฎเกณฑ์ ที่ไม่ออกกำลังกายเพราะระเบียบ วิธี เยอะมาก ยิ่งการเล่นกล้ามนี่ หายใจ การยก น้ำหนัก ตารางฝึก และอื่นๆ มันเยอะเกินสำหรับเขา

  -บางคนไม่ชอบแต่งตัว ไปออกกำลังกาย

 -บางคนไม่ชอบให้ใครมาพูดว่า ผอมยังๆ เห็นออกกำลังกายนานแล้ว กินมากไปไหม เลยไม่ออกมันเลย

 -บางคนคิดว่ามันเป็นภาระ

และมีอีกหลายความคิด แต่....

  "การออกกำลังกายแบบสมตัว" ที่ผมสร้างขึ้นมานี้ ไม่ใช่แค่ เล่นกล้ามนะครับ แน่ล่ะที่ผมทำตอนนี้คือ
การเล่นกล้าม แบบ เบาๆ แต่ผมจะลองนำตัวเองเข้าไปทดลองเองเลยครับ โดยผมคิดว่า มันควรออกมาเป็นแบบ อาหารแนวฟิวชั่น คือ มีการนำอาหารจากต่างถิ่นมาผสม สร้างแนวอาหารใหม่ครับ

     ของผมก็เลยคิดว่า เราน่าจะเดิม อะไรเข้าไปสักหน่อย เพราะเมื่อผมออกกำลังกายโดยการเล่นกล้ามแบบเบาๆ นั้น สุขภาพของผมดีขึ้นมากๆ และทำมาไม่กี่วัน (ผมเป็นคนมีพื้นฐานเล่นกล้ามหนักมาก่อน)
กล้ามเนื้อมันตอบรับเร็วมากๆ และดูกระฉับกระเฉงมากๆ ผมเลยคิดว่า ร่างกายที่ป้อแป้ กลับมาแล้วการออกแบบเบาๆ ที่ดีนี้ น่าจะดีมากขึ้น หากเราเพิ่ม เรื่องของ แอโรบิคเข้ามา ผมก็คิดว่า อะไรดี คิดอยู่นานก็หัวเราะดังลั่น ก็เคยเขียนไว้ในทุกท่านได้อ่านมาพักหนึ่งแล้ว   การแกว่งแขนนั่นเอง

     ผมเลยนำการแกว่งแขน มาร่วมด้วย โดยทำดังนี้

   1.การเล่นกล้ามแบบเบาๆ นั้น เน้นว่า เล่นสัปดาห์ละไม่เกิน 2 ครั้ง เน้นคงกล้ามเนื้อ ไม่ใช่สร้างกล้ามเนื้อใหญ่ๆ เน้นการบ่มเพาะทักษะ ไม่ใช่เล่นเพื่อหวังเป็นชายงาม เล่นเพื่อยังคงอยู่ในกระแส ไม่ใช่เพื่อเป็นกระแส เป็นต้น อย่างไรก็ตาม นี่ละ อะนาโรบิค  ลองตามอ่านบทความก่อนๆ นะครับ ผมเขียนไว้แน่นๆ 2 บทความ

  2.การแกว่งแขน ใช้เนื้อที่ เพียง 1 ตารางเมตร ยังได้เลยสำหรับคนตัวเล็กๆ ทำในห้องได้ แต่เปิดให้ลมพัดสะดวก ลองหาวิธีทำตามเว็บที่เขาอธิบายละเอียดครับ ไม่ต้องอะไรมาก ยืนแล้วแกว่งแขน ใครๆ ก็ทำได้ คนพิเศษ ขออภัย จากท่านั่งก็ประยุกต์ทำได้ครับ แต่จะทำทั้งที่ ต้องมี ขำๆ มีด่านให้ผ่านกันหน่อย

     ผมลองออกแบบดังนี้

       2 สัปดาห์แรก   แกว่งแขนตามวิธีที่ถูกต้อง ไม่เกิน 100 ครั้งในวันแรก จากนั้นค่อยๆ เพิ่ม ทีละ 50 ครั้งจนได้สามารถทำได้ 300 ที ต่อการแกว่งแขน 1 ครั้ง เป็นคุณที่ต้องออกแบบ ทั้งจำนวนวัน และครั้ง จนทำได้ 300 ทีในช่วงสุดท้ายของสัปดาห์ที่ 2

      ประมาณ 1 เดือน ควรจะไต่ขึ้น จาก 300 ไปเป็น 500 ครั้งให้ได้ ในสัปดาห์สุดท้าย

      อีก 1 เดือน ไต่จาก 500 ไปเป็น 750 ครั้ง

      อีก 1 เดือน จาก 750 ครั้ง ไปเป็น 1000 ครั้ง

      จากนั้นให้ไต่เพิ่ม เดือนละ 250 ครั้ง ไปจนครบ 2,000 ครั้ง

มันต้องมีด่านให้ผ่านครับ มันจะสนุก และพบว่า สิ่งที่ผมแนะนำ มันทำได้ เว้นช่วงให้สร้างกล้ามเนื้อ รองรับการพัฒนาระบบภายใน ของร่างกายได้จริงๆ ไม่ใช่มาแนะนำว่า
 
   ...มา มา แกว่งแขนให้ได้ 2,000 หายโรคร้าย ผมว่าเรามาค่อยๆ ไต่ดีกว่าครับ ของแบบนี้ทำได้แล้วมัน
ได้เลย นะครับ จะรีบทำไม  อย่าเร่ง เพราะหากรีบเร่ง ก็ไม่ใช่ การออกกำลังกายแบบสมตัว จริงไหม?

   สำหรับผมจะออกกำลังกายโดยนำการเพาะกายแบบ เบาๆ และ การแกว่งแขน มาออกกำลังกายร่วมกัน โดยมีวิธีการออกกำลังกายดังนี้

      1.เล่นกล้ามแบบเบาๆ สัปดาห์ละ 2 วัน (ติดตามอ่านได้จาก บทความ 2 บทความที่ผมอธิบายลงลึก)
      2.ช่วงวันที่เว้น ไม่เล่นกล้าม ผมก็จะแกว่งแขวน โดยมีเป้าหมายเป็น ด่าน ที่อธิบายไว้ก่อนหน้า
      3.ต้องมีวันพัก  2 วัน คือไม่ทั้งเล่นกล้าม และไม่ทั้งแกว่่งแขน นี่คือทางสายกลางครับ

   เท่านี้ครับ แต่ขอเตือนว่า ต้อง ยืดเส้น วอร์มร่างกาย ทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายเสมอ ตลอดจน ต้องทำทุกอย่าง อย่าง ทางสายกลางครับผม


   พบกับแนวคิด ที่ละเอียดมากขึ้น ของ Suit-Workout กันในบทความต่อไป สวัสดีครับ

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)



No comments:

Post a Comment