Sunday, August 21, 2011

กินอย่างไร อร่อยแต่ไม่มาก เคล็ดไม่ลับ คร้าบ :0)

 สวัสดีครับ
            นี่เป็นความคิดใหม่ล่าสุดของคนรักสุขภาพคนหนึ่ง ผมเล่นกล้ามมาราวๆ 2 เดือน พร้อมๆกับคนที่อ่านบล็อคแห่งนี้ ผมถือว่า
เราเดินทางไปในเส้นทางสุขภาพนี้ด้วยกัน ขณะที่ท่านรู้สึกเพลีย ระบมทั้งตัว ในเวลาทำงาน ผมก็รู้สึกเช่นกัน เพราะเราเล่นกล้ามเหมือนกัน
ขอให้อย่าเลิก เท่านั้นพอครับ จะเบื่อ จะหยุด สักพักคงไม่เป็นไร แต่ต้องกลับมาออกกำลังกาย
           ยิ่งคนที่เคยเล่นกีฬามาก่อนนี่เลิกไม่ได้เลยนะครับ เพราะผมเคยอ่านหนังสือพบว่า ผนังหลอดเลือดจะยืดหยุ่นมากกว่าคนปกติ แต่ถ้าหยุด
ไอ้ตรงนี้จะทำให้เกิดการก่อตัวอุดตันได้มากกว่าคนปกติ ดังนั้น ต้องออกกำลังกาย ราวๆ 40 นาที สัปดาห์ละ 3-4 วันไว้เป็นอย่างน้อยครับ
           สำหรับวันนี้ ผมมีข่าวดีๆ คือวิธีการได้รับประทานอาหารแบบไม่ต้องกลัวว่าจะเกิน สำหรับนักเพาะกาย และคนทั่วไปก็น่าจะใช้ได้ นั่นคือ
กลวิธี การเจือจาง ครับ เป็นอย่างไร มาดูกัน
          จะเห็นว่า ปัจจุบัน ของกินต่างๆ ถูกผลิตออกมาในถุง ห่อ ซอง กล่อง และขวด ที่มีปริมาณชัดเจน ตามหลักมาตรฐานคุณภาพ ทำให้ผู้บริโภค
ได้รับความเป็นธรรม ทุกครั้งที่ซื้อ แต่คำถามมีว่า
    1.คนที่ซื้อของพวกนี้กิน เคยอ่าน รายการสารอาหาร แคลอรี่ น้ำหนักของสารที่ก่อโรค เช่น เกลือ น้ำตาล กันบ้างไหม
    2. ซื้อมาแล้ว ส่วนมากเสียดายต้องกินให้หมด ไม่หมดก็เสียดาย

   จาก 2 ข้อนี้ ล่ะครับต่อไปจะมีคนเป็นโรคจากมาตรฐานคุณภาพกันมากขึ้น ขณะที่สมัยก่อน นมผง อยู่ที่เราว่าจะชงมาก ชงน้อยขนาดไหน แต่ตอนนี้
มีนมกล่องมาขนาดเท่าๆกันหมด เมื่อก่อน นักกีฬา เอาเกลือใส่ในน้ำอัดลม กินหลังจากอาการเพลีย เดี๋ยวนี้กลายมาเป็นน้ำเกลือแร่ เป็นขวดๆ ใหญ่บ้างเล็กบ้าง สมัยผมยังเล็กๆ สั่ง ชาเย็น คนขายไม่ได้กระหน่ำใส่นมข้นหวานแบบสมัยนี้ แต่ใส่พอกินหอมๆ อร่อยๆ จนผมสงสัยว่า เรากิน ชาเย็น ใส่นม
หรือ นม ใส่ ชากันแน่ หรือกาแฟก็เหมือนกัน เรากินกาแฟใส่นมหรือ นมใส่กาแฟกันแน่

     สิ่งที่ผมจะเสนอนี้ มาจากแนวคิดที่เคยอ่านมาจากผู้ใหญ่ ที่ท่านหมอ เฉก ที่เขียนหนังสือชื่อประมาณว่า อยู่ 100 ปี ท่านเล่าว่า ผู้ใหญ่ท่านนั้น เป็นนักชิมทีเดียว แต่อายุยืนแข็งแรง ท่านแนะนำว่า กินอะไรก็กินไป แต่ ขอให้กินอย่างละนิดละหน่อย พอรู้รส อร่อยปาก กินน้อยๆ ทุกมื้อ ซึ่งผม
ว่ามันเข้ากับหลัก กิน 6 มื้อของนักเล่นกล้ามของพวกเรา และ เมื่อนำมาประยุกต์กับเรื่องที่ผมเล่ามาข้างต้น ก็น่าจะเป็นหลักการกินน้อยๆ อีกแบบหนึ่ง
ครับ
    แนวคิดของผมก็คือ คนไทย นั้นมีน้ำหนัก สูง ต่ำ กินมาก กินน้อย ต่างๆกัน การเผาผลาญก็ต่างกัน ดังนั้น การกินอะไรหมดเป็นกล่องๆ ในปริมาณเท่าๆกันนั้น ไม่ใช่วิธีที่ดีนัก ยกตัวอย่าง ชาเขียวขวดละ 10 กว่าบาท ที่เรากินกัน ผู้หญิงซื้อไปกินหมดขวดกับผู้ชายกินหมดขวด
น่าจะมีผลการเผาผลาญต่างกัน เช่นชายเผาผลาญได้ดีกว่า ไหม บางคนไวต่อน้ำตาล กินชาเขียว เย้วๆ ตามเพื่อน แต่ทำไมอ้วนเอาๆ เพราะลืม
อ่านฉลากว่าน้ำตาลกี่กรัม แบบนี้เป็นต้น ทำอย่างไรจะลดความเสี่ยงเรื่องพวกนี้ได้ หรือได้บ้าง

   วิธีของผมคือ ไม่ยากก็เจือจางมันเสียก็สิ้นเรื่อง ซื้อมาจะขวดเล็กใหญ่ อย่ากินจากขวดครับ  ขอให้พี่น้องรินใส่แก้วครับ อาจจะดูเรื่องมาก
ผมไม่ลงลึกนะครับว่าท่านจะเสียเวลาหาแก้วที่ไหน นั่นมันชีวิตของท่านนะครับ ฮ่ะๆๆๆ รินน้ำอะไร ก็ตามที่ว่าดีในตลาดตอนนี้ใส่แก้ว เริ่ม
จากครึ่งแก้วก่อน แล้วพอ ทำอะไรต่อครับ ก็เติมน้ำดื่มลงไปครับ ครึ่งหนึ่ง แล้วก็คน จบครับ เจือจางแล้วใช่ไหม สิ่งที่ทันได้คือ ดับกระหาย
ได้แน่นอน และน่าจะดีกว่า เพราะในโลกนี้น้ำดับกระหายได้ดีที่สุดในโลก ขณะที่ยังได้สารอาหาร ตามที่แต่ละผลิตภัณฑ์สุดจะอ้างกัน เช่น
ชาเขียว ท่านก็ได้พวกเทนนิน ทำให้นอนสบายอะไรพวกนี้ แต่ท่านก็ดับกระหายจากน้ำไปด้วย ขณะที่คนไทยขนาดมาตรฐาน รินกินแบบคน
ให้เจือจางก็ไม่น่าจะกินได้เกิน 2 แก้ว ก็อิ่มน้ำแล้วใช่ไหม ท่านยังลดการกินเครื่องดิ่มผสมน้ำตาลพวกนี้ไปได้ อย่างน้อย 50 % ในการดื่ม
พวกมันแต่ละขวด ที่เหลือก็ปิดฝาแช่ตู้เย็นไว้ค่อยกินก็ไม่น่าจะเสียนะครับ

    เห็นไหม นี่ล่ะครับ กินน้อย กินแบบเจือจาง อย่ากินแบบเป็นล็อตๆ เพราะเราเป็นคน ไม่ใช่ ปศุสัตว์นะครับ เลือกคิดเลือกปรับ เลือกเจือจางได้
เราเป็นคนครับ ก็จงกิน และ ดื่มแบบคนๆ ดีกว่าว่าไหม ลองนำหลักการนี้ไปทดลองทำดูครับ ศาสตร์การเจือจางนี้ มีมาแต่บางบรรพแล้วเช่น ข้าวต้ม
ไงครับ หากนักเล่นกล้าม คนทั่วไป กินข้าวต้มก็ เลิกกังวลเรื่อง แป้งเกินไปได้เลย จริงไหมๆ คนโบราณไม่ได้กินข้าวต้มเพราะไม่มีกินอย่างเดียวนะครับ
แต่พวกเขา รู้เก็บรู้กินต่างหาก ข้าวต้มกินยังไงก็อิ่ม แปลกที่มีน้ำมาเกี่ยวอีกเช่นเคย หากคุณกินข้าวต้มแบบข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้องล่ะ โหสุดยอดล่ะครับว่าไหม ลดแป้งได้แน่นอน ลองนึกดู ผู้ป่วยเบาหวานหันมากินข้าวต้ม ปัญหาเรื่องแป้งเกินน่าจะหายสิ้นนะครับ :0)

     ในชีวิตคนเราหลักการ เจือจาง ยังเอาไปใช้ได้อีกมากมาย ลองเอาไปเล่า ไปทำกันครับ

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)



No comments:

Post a Comment