Saturday, April 20, 2013

ยอดเข้าชมทะลุ 6 หมื่น ขอบคุณครับ และบทความใหม่ เมื่อนักเพาะกายป่วย

สวัสดีครับ

    วันนี้นับว่าเป็นโอกาสดีที่ผมได้พบว่า ยอดการเข้าชม บล็อกของผม มียอดทะลุ 60,000 ครั้ง เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ กับระยะเวลาในการก่อตั้งยังไม่ครบ 2 ปีเสียด้วยซ้ำๆ นับว่า เป็นสิ่งที่สร้างกำลังใจให้กับ นักเขียน นักเพาะกายสมัครเล่นอย่างผมได้ไม่น้อย ก็จะขอใช้ยอดการชมนี้ สร้างสรรค์งานเขียนบทความด้าน การเพาะกาย การดูแลสุขภาพ ต่อไปครับ ขอบคุณทุกท่านมากๆ ครับ

    วันนี้จะขอเขียนเรื่อง เมื่อเวลานักเพาะกายป่วย เขาต้องทำอย่างไรบ้าง นักเพา้ะกาย ไม่ใช่ยอดมนุษย์ผู้ไม่มีทางเจ็บป่วยนะครับ เราสามารถเจ็บป่วยได้ครับ

    เริ่มจากวิธีคิดกันก่อน สำหรับแนวทางของผมนั้น เมื่อเราเจ็บป่วย เราควรหยุดการฝึกทันทีครับ ไม่ควรฝืนเด็ดขาด ทำไม?

    การที่เราเจ็บป่วย อาจมีการเกิดมาจาก ภายใน และ ภายนอก เช่น ภายในก็จากเชื้อไข้ที่เราได้รับมา และทำให้เราเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย ร่างกายอาจต้องการ การพักผ่อน เพื่อต่อสู้กับโรค และ เพื่อฟื้นฟูร่างกาย สำหรับภายนอก ก็อาจเกิดจาก การลำบากตรากตรำ ร่างกายไม่ได้พักผ่อน ทำให้ร่างกายเกิดอาการไข้ เพื่อนำพาให้ระบบทั้งระบบ ได้หยุดลง ช้าลงเพื่อ พักผ่อน สิ่งภายนอก ที่ว่านี้ อาจจะมาจากการฝึกของตัวเราเองด้วย

    ในวงการเพาะกาย บางคนอาจจะอ่านพบเรื่อง มีคนอยู่ 3 แบบที่ เพาะกายแล้วได้ผลแตกต่างกัน แบบแรงต้องพยายามมาก ทั้งๆ ที่โปรแกรมฝึกดี อาหารถูกต้อง ท่าฝึกผ่าน แต่กล้ามไม่มาง่ายๆ คนอีกแบบกลางๆ หากได้การฝึกดี ก็จะเริ่มเห็นผลของการฝึก กับแบบสุดท้ายที่เหมือน มีโครงสร้างทางธรรมชาติที่ตอบสนองต่อการเพาะกายได้ ดีเยี่ยม คือ ฝึกไม่เท่าไร ก็ได้ผลดีเยี่ยม

     จากคนทั้ง 3 แบบ ที่ว่า ผมก็คิดต่อว่า มันก็เป็นไปได้ที่จะมี คนที่ฝึกเพาะกายแล้ว ไม่เคยป่วยเคยไข้ แต่ขณะเดียวกัน อีกคนนิดๆ หน่อย ก็เจ็บก็ป่วย แบบนี้เราจึง ไม่ควรแนะนำใครก็ตามว่า หากฝึกแบบนี้เจ็บแล้วต้องซ้ำ มันไม่ใช่สูตรสำเร็จนะครับ เราควรคิดกันว่า เมื่อเจ็บป่วยแล้ว เราควรชะลอการเพาะกายลง หรือ ไม่ก็หยุดสักระยะ จะดีกว่า

     วิธีที่ผมใช้เมื่อป่วยไข้ ผมจะหยุดเป็นระยะๆ ดังนี้ครับ

ระยะต้น เพื่อรอดูอาการ เมื่อคุณแน่ใจแล้วว่า ป่วย คุณควรรอดูอาการ สัก 3 วัน ในระหว่างนี้ใ้ห้ยกเลิกการฝึกทั้งหมดในทันที ดื่มน้ำส้ม ทานยา ไปตามอาการ ดื่มน้ำมากๆ และเริ่ม ปรับพฤติกรรมการนอน ในนอนหัวค่ำ นอนให้มากขึ้น

    พ้น 3 วันเห็นว่าอาการดีขึ้น ทดลองยกน้ำหนักได้ แต่ให้น้อยกว่า ปกติ คือ เหลือเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น
หากวันต่อมาเกิดอาการป่วยกลับมา ไม่หาย ให้เลิกการฝึกทันที

ระยะกลาง คือ ระยะที่พบแล้วว่า 3 วันไม่หายป่วย และ พอฝึกก็ยังไม่หาย ให้จัดเต็มครับ ระยะนี้ ต่ออีก 4-5 วัน ยกเลิกการฝึกทุกอย่าง ดูแลตัวเองไปครับ

ระยะยาว คือ หลัง 7 วัน ยังมีอาการอ่อนเพลียยังไม่หาย แนะนำให้ หาหมอก่อนเลย ตรวจให้ชัวร์ว่า เป็นเพียงไข้หวัด จากนั้น ก็ให้พักยาว อีก 1 สัปดาห์ หรือจนกว่า พละกำลังจะกลับคืนมา แล้วค่อย ตัดสินใจลงมือฝึก

   ผมทำตามแนวทางนี้มาตลอด กับสภาพร่างกายของคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ ที่เล่นเหวตเป็นปี โดยไม่มีอาการเจ็บหนัก ทั้งจาก กระดูก กล้ามเนื้อเอ็น หรือ อะไรเลย เพราะหลักการนี้ ทำให้เรารู้จักอดทน ในการรอ ทำให้เราได้พักเต็มที่ ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป กล้ามเ้นื้อมันไม่หายไปไหนหรอกครับ ตามจริงแล้ว มีบางโปรแกรมฝึกด้วยซ้ำ ที่แนะให้ เราหยุดเลย 2 สัปดาห์ โดยไม่แตะน้ำหนักเลย เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเอง บางตำราให้หยุดไปเลย เป็นเดือน ดังนั้น การที่เราป่วยแล้วหยุด ราวๆ 2-3 สัปดาห์ รับรองไม่มีผลต่อการฝึกครับ

    ทว่า ในทางตรงข้ามหากคุณเจ็บป่วยแล้วไปฝึก อาจมีอันตรายได้ หากร่างกายเกิดอาการช็อค ดังนั้นจงจำไว้ว่า ป่วยก็พัก ครับผม

    กรณีศึกษา/คำเตือน: นานมาแล้วเพื่อนผมคนหนึ่ง มีอาการท้องเสีย เขาเป็นอยู่หลายวัน ถ่ายท้องหลายครั้งใน แต่ละวัน ด้วยความคึก ทำให้หลังหายจากอาการท้องเสียเพียงวันเดียว เขาก็กลับไปเพาะกาย ปรากฎว่า มีอาการหน้ามืด กลับมาที่พัก หน้าซีดขาวเหมือนหายใจไม่ทัน เพื่อนรีบพาไปโรงพยาบาลพบว่า เขาขาดเกลือแร่รุนแรง เมื่อไม่ออกกำลังกายที่ออกแรงมาก จึงช็อค ดีที่ไม่เป็นอะไรมากครับ ดังนั้นต้องระวังด้วยนะครับ


No comments:

Post a Comment